10 เทคนิคออกแบบระแนงไม้กับพื้นทางเข้าบ้าน

Akharapon T. Akharapon T.
TARAS DREWNIANY. REALIZACJA W PIOTRKOWIE TRYBUNALSKIM, PHU Bortnowski PHU Bortnowski
Loading admin actions …

พื้นที่ชานบ้านเป็นหนึ่งในพื้นที่มีการใช้งานอเนกประสงค์ นอกจากเป็นพื้นที่สำหรับรองรับการใช้งานก่อนเข้าไปยังตัวบ้านแล้ว ยังเป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจได้ งานออกแบบพื้นที่ชานนี้จึงต้องการบรรยากาศที่ดูผ่อนคลายและอบอุ่นเรียบง่าย เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานและบรรยากาศความอบอุ่นเรียบง่าย การเลือกใช้วัสดุไม้ระแนงจึงเป็นตัวเลือกในการออกแบบซึ่งแนวทางและเทคนิคการนำไปใช้นั้นมีได้หลากหลาย โดยในครั้งนี้ Homify ได้รวบรวม 10 เทคนิคการออกแบบระแนงไม้สำหรับพื้นที่ทางเข้าบ้าน ให้คุณผู้อ่านได้เลือกสรรไปปรับใช้กับพื้นที่บ้านให้ดูสวยงามมีความอบอุ่นตามแบบบ้านเรียบง่ายที่ทุกคนใฝ่ฝัน

1. ออกจากกรอบเดิมๆด้วยการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ๆ

อาจจะเห็นกันมาเยอะแล้วกับรูปทรงของชานไม้แบบสี่เหลี่ยม ลองออกแบบให้พื้นที่ชานมีการใช้รูปทรงที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อความสวยงามและน่าสนใจ รูปทรงโค้งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างความโดดเด่นให้พื้นที่หน้าบ้าน บอกเลยว่าไม่ยากเพราะระแนงไม้สามารถออกแบบตัดแต่งให้ได้รูปทรงโค้งตามต้องการได้โดยปรึกษานักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญติดตั้งระเบียงและชานบ้าน

2. เล่นกับระดับพื้น

การออกแบบให้พื้นที่ชานไม้ระแนงมีการยกระดับสูงขึ้นมาเหนือพื้นดินเป็นวิธีซึ่งช่วยให้พื้นที่มีการใช้งานที่ดีและดูสวยงามขึ้น ส่วนที่ถูกยกขึ้นมานี้สามารถติดตั้งได้โดยง่ายด้วยการใช้คานเหล็กซึ่งมีน้ำหนักเบาและติดตั้งได้ง่ายกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากจะดูเป็นพื้นที่ใช้งานที่ชัดเจนขึ้นแล้วยังสามารถใช้เป็นที่นั่งเล่นชมวิวสวนได้แบบสบายๆ

3. จะเพิ่มสเต็ปขึ้นมากี่ขั้นก็ไม่มีปัญหา

จากบ้านตัวอย่างหลังนี้ จะเห็นลักษณะของชานไม้ระแนงซึ่งถูกยกขึ้นมาจากพื้นทางเดิน โดยออกแบบเป็นขั้นบันไดเชื่อมต่อกับพื้นที่หน้าบ้าน ด้วยลักษณะของโทนสีไม้ที่เข้มแลดูแตกต่างจากโทนสีของวัสดุโดยรอบ ทำให้มีความโดดเด่นแต่กลมกลืนกันอย่างสวยงาม

4. พาเลทไม้ อีกหนึ่งไอเดียที่สวยเรียบง่ายแถมประหยัดงบ

เป็นวิธีที่ทั้งง่ายและถูกมากสำหรับค่างบประมาณในการนำเอาพาเลทไม้มาใช้กับพื้นที่ชานระแนงไม้หน้าบ้านอย่างที่เห็นในภาพ ซึ่งดูแล้วให้รูปลักษณ์และบรรยากาศแบบดิบเท่เรียบง่าย ทั้งนี้อาจต้องมีการดูแลรักษาป้องกันความชื้นและแมลงเป็นพิเศษสักหน่อย เพื่อการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

5. ออกแบบโดยให้เป็นพื้นที่ใช้งานที่หลากหลาย

อย่าปล่อยให้พื้นที่หน้าบ้านต้องมีการใช้งานที่สูญเปล่า ลองหาไอเดียออกแบบพื้นที่ชานให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายเช่น การนั่งเล่นพักผ่อน เป็นต้น และไม่ลืมที่จะออกแบบให้มีพื้นที่สำหรับพืชพรรณ ทั้งกระบะปลูกไม้พุ่มหรือซุ้มไม้เลื้อยซึ่งสามารถใช้เป็นร่มเงาธรรมชาติแก่พื้นที่พักผ่อนอย่างเช่นชานหน้าทางเข้าของบ้านตัวอย่างหลังนี้

6. ใช้วัสดุประเภทเดียวกันเพื่อความสวยงามที่ต่อเนื่อง

การเลือกใช้วัสดุลักษณะเดียวกันในงานออกแบบคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ตัวงานเกิดความกลมกลืนและดูเป็นหนึ่งเดียวกัน งานออกแบบระแนงไม้ก็เช่นกัน การเลือกใช้โทนสีของไม้ที่นำมาใช้ควรเลือกที่เป็นโทนสีเดียวกันทั้งชิ้นงาน ซึ่งถึงแม้ว่าด้วยความที่เป็นวัสดุไม้ การควบคุมให้ลวดลายที่เกิดจากธรรมชาติแลดูเหมือนกันทุกชิ้นคงเป็นไปได้ยาก แต่นั่นไม่เป็นปัญหาเพราะขอแค่เป็นโทนสีเดียวกันก็ทำให้ตัวพื้นที่มีความต่อเนื่องแลดูสวยทั่วถึงกันแล้ว และความแตกต่างของลายไม้นั้นเองจะเป็นส่วนที่ทำให้พื้นที่มีบรรยากาศที่ดูธรรมชาติมากขึ้น

7. หรือจะจับคู่กับวัสดุประเภทอื่นก็ไม่เสียหาย

จากภาพชานหน้าทางเข้าบ้านหลังนี้ จะเห็นการใช้วัสดุสองแบบกับพื้นที่ นั้นคือส่วนที่เ็นระแนงไม้และส่วนที่ใช้บล็อกคอนกรีต สังเกตตำแหน่งของการเลือกใช้วัสดุโดยตัวพื้นที่ที่เ็นระแนงไม้นั้นจะอยู่ในบริเวณใต้ชายคาติดกับประตูทางเข้าบ้าน และส่วนที่เป็นบล็อกคอนกรีตจะใช้กับพื้นที่โล่งส่วนที่เชื่อมกับถนน การเลือกใช้วัสดุสองแบบนี้อิงจากลักษณะความทนทานที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็ให้รูปลักษณืที่ดูเข้ากันได้ ทั้งตัวโทนสีที่ต่างกันก็ช่วยให้พื้นที่แลดูโดดเด่นขึ้นมามากขึ้น

8. เลือกใช้ไม้เทียม อีกทางเลือกของความทนทานและความประหยัด

ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุสามารถผลิตชิ้นส่วนไม้เทียมซึ่งให้สัมผัสและรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับไม้จริงได้ชนิดที่ว่าแทบแยกไม่ออก ทั้งนี้ยังมีคุณสมบัติที่ทนทานและมีราคาที่ถูกกว่า จึงทำให้ไม้เทียมเป็นอีกทางเลือกสำหรับกรณีที่เรามีงบประมาณที่จำกัดและต้องการคุณสมบัติการใช้งานที่ดีเยี่ยม  อย่างเช่นบ้านตัวอย่างหลังนี้ที่มีการเลือกใช้ไม้ระแนงเทียมสีดำกับพื้นที่ชานหน้าบ้าน ตกแต่งให้ดูเท่แบบบ้านโมเดิร์นด้วยการจับเข้าคู่กับพื้นทางเดินอิฐสีเทาโรยกรวดโดยรอบ พร้อมด้วยไม้พุ่มสีเขียวสดใสที่ช่วยให้พื้นที่มีชีวิตชีวามากขึ้น

9. สำคัญเลยคือต้องไม่ลืมพื้นที่สำหรับพืชพรรณสีเขียว

แน่นอนว่าคงดูแห้งแล้งไร้ชีวิตชีวาหากขาดพืชพรรณสีเขียวไป การออกแบบพื้นที่จึงต้องมีพื้นที่สำหรับพืชพรรณไว้ด้วย กระบะสำหรับปลูกซึ่งแฝงเป็นส่วนเดียวกันกับพื้นที่ชานไม้เป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นประโยชน์ เพราะทำให้พื้นที่แลดูเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งตัววัสดุของพื้นระแนงไม้และขอบของกระบะอย่างเช่นในภาพบ้านหลังนี้ ซึ่งส่วนปลูกพืชพรรณนั้นตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น เป็นตำแหน่งที่ดีที่จะช่วยปรับความรู้สึกและสร้างความสดชื่นได้ในขณะเดินเข้าตัวบ้าน

10. ชานบ้านแบบยกพื้นสูงเป็นสัดส่วนชัดเจน

พื้นที่ชานระเบียงไม้หน้าบ้านส่วนนี้เป็นส่วนที่ออกแบบให้ยกพื้นสูงขึ้นมาจากระดับดิน ดูคล้ายคึงกับชานแบบบ้านไทย พื้นที่ด้านล่างก็เปิดโล่งให้ลมถ่ายเทและใช้เป็นที่สำหรับปลูกพืชพรรณไม้เพื่อให้ร่มเงาและความสดชื่นแก่พื้นที่ทั้งการออกแบบให้มีการยกพื้นแบบนี้ยังเป็นการทำให้พื้นที่มีสัดส่วนการใช้งานที่ชัดเจนและมีความดูดีแบบบ้านเรียบง่ายที่เราคุ้นเคย

تريد مساعدة في إتمام مشروع بيتك؟
تواصل معنا الآن

يبرز من مجلتنا